-การ ๓ หมายถึง คําประกอบท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือนการ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.
[กา-รก] น. ผู้ทํา. (ไว) ก. กริยาที่ทําหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการกกรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).
[กาน] น. เหตุ, เค้า, มูล, เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สังเกตการณ์.(ป., ส.).
(ปาก) น. บัตรเชิญในโอกาสต่าง ๆ เช่น การ์ดแต่งงาน การ์ดงานศพ.
น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน,หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆมีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.
น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์Pomacentridae ลําตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดําคล้ำ มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลําตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาด พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน.
[กาน-] น. กานดา เช่น ธรณีธรณิศแก้ว การเต. (ทวาทศมาส).
[การะบูน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cinnamomum camphora (L.) J.S.Presl ในวงศ์ Lauraceae เนื้อไม้มีสารสีขาว กลิ่นฉุนร้อนซึ่งกลั่นแยกออกมาได้ เรียกว่า การบูร หรือ กรบูร ใช้ทํายา.(ส. กฺรบูร).